มากกว่ารัก

slide



วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โปรแกรมผู้ช่วยแพทย์ ผลงานเนคเทคเพื่อชุมชน

โปรแกรมเก็บข้อมูลสุขภาพครัวเรือนติดตั้งใช้งานบนซัมซุง กาแลคซี่ แท็บ สนับสนุนภารกิจแพทย์และเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลชุมชนเฝ้าระวังโรคระบาด
 วัชรากร หนูทอง หัวหน้าโครงการวิจัยโครงการระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า จากการนำระบบต้นแบบไปทดสอบประสิทธิภาพโดยทีมของ นพ.สุธี สุดดี ที่ปรึกษาโครงการฯ และแพทย์ประจำโรงพยาบาลวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี พบว่าสามารถเก็บข้อมูลสุขภาพและสร้างผังเครือญาติในรูปแบบกราฟฟิกได้อย่างแม่น
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนบนอุปกรณ์พกพา เป็นโปรแกรมที่พัฒนาให้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยเลือกทดสอบกับซัมซุง กาแลคซี่ แท็บ ขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ในฐานะโปรแกรมเสริมระบบงานสถานีอนามัย JHCIS v.1.10 (2009) ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
 นักวิจัยอธิบายขั้นตอนใช้งานว่า สถานีอนามัยที่ต้องการใช้งานเพียงลงทุนซื้ออุปกรณ์พกพาในราคาไม่เกิน 2 หมื่นบาท และลงโปรแกรมที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น จากนั้นจะสามารถถ่ายข้อมูลสุขภาพผู้มาใช้บริการในชุมชนตนเองจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปยังอุปกรณ์แอนดรอยด์ และพกพาไปเยี่ยมเยียนผู้ใช้บริการและอัพเดทข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
 ระบบดังกล่าวมีโหมดใช้งานหลัก 2 โหมด ได้แก่ โปรแกรมแผนที่ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาและทดสอบการใช้งาน ในโหมดดังกล่าวเจ้าหน้าที่สามารถกำหนดพิกัดหลังคาเรือนแต่ละหลังด้วยระบบจีพีเอส บนแผนที่กูเกิลแม็พแบบออนไลน์ได้ โดยมีไอคอนแสดงภาวะหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยเรื้อรังเป็นสีแดง และบ้านที่ผู้อาศัยมีสุขภาพปกติเป็นสีเขียวแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบอย่างชัดเจน
 โหมดต่อมาเป็นโปรแกรมสร้างผังเครือญาติในรูปแบบกราฟฟิก ช่วยให้ผู้เก็บข้อมูลเข้าใจแผนภูมิครอบครัวได้ง่าย เนื่องจากสามารถถ่ายภาพหน้าตาของเจ้าของข้อมูลในแต่ละลำดับลงไปในระบบ รวมถึงแสดงข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคนในผังได้อย่างละเอียด อาทิ เลขบัตรประชาชน สิทธิที่ใช้ในการรักษา อายุ เพศ สถานะ โรคประจำตัว ยาที่เคยรับ จำนวนครั้งที่รับการรักษา ประวัติการรักษาเดิม ความเสี่ยงในการเกิดโรคพันธุกรรม ซึ่งระบบสามารถแสดงผลเครือญาติได้ 4 รุ่นอายุคนในปัจจุบัน
 เมื่อเจ้าหน้าที่เยี่ยมคนไข้และกรอกข้อมูล ซึ่งสามารถใช้งานในแบบออฟไลน์ได้เสร็จแล้วข้อมูลที่ถูกเก็บในอุปกรณ์แอนดรอยด์จะปรับปรุงข้อมูลล่าสุดอัตโนมัติเมื่อนำไปเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรแกรม AutoSync ที่นักวิจัยออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานโดยตรง โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากมาย
 “โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชนในแบบเดิม ที่ใช้แรงงานคนจดลงกระดาษหลังจากเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและต้องกลับมากรอกข้อมูลเข้าระบบงานสถานีอนามัย JHCIS ซึ่งเสี่ยงต่อการคลาดเคลื่อนของข้อมูลในการทำซ้ำ อีกทั้งความเข้าใจยากในสัญลักษณ์ภาพสี่เหลี่ยมและวงกลมที่ใช้แทนเพศหญิงและชาย ไม่สามารถแสดงเป็นรูปหน้าตาของเจ้าของข้อมูลได้โดยตรง ผู้พัฒนาระบบกล่าว
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพา จะทำให้แพทย์เฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดในกลุ่มเสี่ยงได้สะดวก และกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรนโยบายด้านสุขภาพให้แก่แต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับงบประมาณ
 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุดหนุนทุนพัฒนาโปรแกรมผู้ช่วยแพทย์ 2 แสนบาท ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2553 ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอผลงานไปยังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การลงทุนขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงเชิงพาณิชย์ อีกทั้งอนาคตยังสามารถต่อยอดระบบให้เก็บข้อมูลได้อีกหลากหลาย เท่าที่แพทย์จำเป็นต้องใช้ในการเยี่ยมบ้านคนไข้
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพาของเนคเทคยังได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในงานไทยแลนด์ เกม โชว์ 2011

เนรมิตกระจกสีสู่เครื่องประดับด้วยนาโนเทค

เนรมิตกระจกสีสู่เครื่องประดับด้วยนาโนเทค
นักวิจัยพบเทคนิคตกแต่งกระจกสี-แก้วให้เป็นอัญมณี โดยอาศัยคุณสมบัติเด่นของอนุภาคทองคำนาโน ที่สีสันแตกต่างไปจากทองคำปกติ
 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  จัดกิจกรรม   “คุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจร”  ในหัวข้อ อนุภาคนาโน !!..เนรมิตกระจกสีสู่เครื่องประดับล้ำค่า”  ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี (จามจุรีสแควร์) สามย่าน กรุงเทพมหานคร 
 โดยมีนายสันติ        สาทิพย์พงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานพิธีเปิด พร้อมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา  หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบและบริการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. มาให้ความรู้ และชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินค่ายอคาเดมี่แฟนตาเซีย พี่กรีน AF5
         นายสันติ สาทิพย์พงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ถือเป็นสาขาวิชาความรู้ และเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก  วิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน  และวิทยาศาสตร์ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต 
 ดังนั้น การแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งจำเป็น  โดยเฉพาะการสร้างพื้นฐานความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชน  เพื่อเป็นการปลูกฝังให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่  มีหลักคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และมีความสนใจใคร่รู้ที่จะเสาะแสวงหาความจริงรวมถึงเรียนรู้และทดลองเพื่อคลายความสงสัยด้วยตนเอง
   “การผลักดันและสร้างเสริมความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่เด็กและเยาวชนให้ได้มากที่สุด ถือเป็นนโยบายที่มีความสำคัญนับตั้งแต่วาระแรกในการดำรงตำแหน่งของ          ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งต้องการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนมากที่สุด
 ดังนั้น จึงได้มีดำริในการจัดทำโครงการต่างๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งโครงการ คุยกัน..ฉันท์วิทย์  เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เยาวชนของชาติเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีหลักคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในอนาคต
 สำหรับการจัดกิจกรรม คุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจร ในวันนี้ มีความพิเศษตรงที่ผู้เข้าร่วมงานรวมถึงเด็กและเยาวชน จะได้มีโอกาสทดลองประดิษฐ์เครื่องประดับจากกระจกสีนาโนด้วยตนเอง       พร้อมได้รับความรู้และคำแนะนำจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญโดยตรงอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือเป็นโอกาสและ     เป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่หาไม่ได้ง่ายนัก รวมถึงยังได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเคราะห์อนุภาคเงินและทองที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร  การศึกษาคุณสมบัติเชิงแสงที่เปลี่ยนแปลงไปของเงินและทองที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร  พร้อมทั้งได้ศึกษาวิธีการผลิตกระจกสีและเครื่องประดับในสมัยโบราณ  
 นอกจากจะได้ความรู้และประสบการณ์ให้กับตนเองแล้ว ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่งด้วย ถือว่าเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หลายคนหันมาสนใจการประกอบอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
 ขณะที่ ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบและบริการ หน่วยวิจัยกลาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ  สวทช. กล่าวในการเสวนาคุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจรหัวข้อ อนุภาคนาโน !!..เนรมิตกระจกสีสู่เครื่องประดับล้ำค่าว่า นาโนเทคโนโลยี เป็นสหสาขาวิชาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การสร้าง การสังเคราะห์วัสดุหรืออุปกรณ์ในระดับของอะตอม โมเลกุลหรือชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กในช่วง 1 ถึง 100 นาโนเมตร
 ซึ่งวัสดุต่างๆ ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากวัสดุที่มีขนาดใหญ่ เช่น มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้ว่องไวขึ้น หรือมีสมบัติการนำไฟฟ้าและสมบัติเชิงแสงเปลี่ยนแปลงไปวัสดุขนาดใหญ่ เป็นต้น
 คุณสมบัติเหล่านี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจได้ ยกตัวอย่างเช่น ทองนาโน หรือเงินนาโน ซึ่งก็คือทองหรือเงินธรรมดาแต่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่เปลี่ยนแปลงไปจากทองหรือเงินธรรมดา โดยอนุภาคเงินนาโนจะมีสีเหลืองเมื่อแขวนลอยอยู่ในน้ำ ในขณะที่อนุภาคทองนาโนจะมีสีแดงหรือม่วงเมื่อแขวนลอยอยู่ในน้ำ 
 จุดเด่นของอนุภาคทองนาโน มีสมบัติเชิงเคมีและกายภาพที่แตกต่างไปจากทองคำปกติทองคำขนาดใหญ่ที่เราคุ้นเคย  เช่น ทองคำปกติจะไม่ทำปฏิกิริยาเคมีในขณะที่อนุภาคทองคำนาโนสามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ได้อย่างว่องไว  หรือการที่ทองคำปกติจะมีสีเหลืองทองในขณะที่อนุภาคทองคำนาโนจะมีสีแดงเข้มหรือสีม่วง  เป็นต้น 
 ส่วนอนุภาคเงินนาโน มีคุณสมบัติเชิงเคมีและกายภาพที่แตกต่างไปจากโลหะเงินที่เราคุ้นเคย  เช่น โลหะเงินปกติจะสีเงินแวววาวในขณะที่อนุภาคเงินนาโนจะมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล  และอนุภาคเงินนาโนจะมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย    ได้ดีกว่าโลหะเงินปกติ เป็นต้น
 ดังนั้น อนุภาคทองคำนาโนจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้อนุภาคทองคำนาโนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการผลิตสารเคมีและวัสดุในเชิงพาณิชย์    ใช้อนุภาคทองคำนาโนเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ตรวจจับเชื้อโรคหรือสารเคมีที่ต้องการตรวจสอบ    โดยดูจากการเปลี่ยนสีของอนุภาคทองนาโน 
         ดร.ณัฐพันธุ์ กล่าวต่อว่า การที่อนุภาคทองคำนาโนมีสีสันที่แตกต่างไปจากทองคำปกติ     ทำให้สามารถนำอนุภาคทองคำนาโนไปใช้ตกแต่งเป็นเครื่องประดับได้อย่างมากมาย เช่น กระจกสี แก้ว   สีเคลือบและสีย้อมสีแดง เป็นต้น ขณะที่อนุภาคเงินนาโนไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น   ใช้อนุภาคเงินนาโนเติมลงผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย  เช่น เสื้อผ้า สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ สีและสารเคลือบ กระเบื้อง บรรจุภัณฑ์  ผงซักฟอก เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
 และการที่อนุภาคเงินนาโนมีสีสันที่แตกต่างไปจากโลหะเงินปกติทำให้สามารถนำอนุภาคเงินนาโนไปใช้ตกแต่งเป็นสารให้สีได้อย่างมากมาย  เช่น เครื่องประดับ  กระจกสี  แก้ว เป็นต้น ในปัจจุบันจึงมีการใช้อนุภาคเงินนาโน และอนุภาคทองนาโน เป็นส่วนผสมของเครื่องประดับหลายชนิด เช่น กระจกสี  ถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผา   แก้วสี  สร้อยคอ  แหวน ต่างหู กำไลข้อมือ กรอบรูป เป็นต้น
 “ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้นาโนเทคโนโลยี  โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับชนิดของอนุภาคนาโน   ที่เติมหรือผสมลงในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด เช่น ถ้าเติมอนุภาคเงินนาโนลงไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อโรคได้ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมอนุภาคทองนาโนลงไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติในการเกิดปฏิกิริยาเคมีดีกว่าผลิตภัณฑ์ปกติ
 อย่างไรก็ดี นาโนเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนทั่วไปรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม  แต่กระแสตอบรับของประชาชนทั่วไปก็มีมุมมองเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี         ในเชิงบวก และนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติที่พิเศษหรือแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ปกติ โดยผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภท สิ่งทอ สีทาบ้าน สุขภัณฑ์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น
 นาโนเทคโนโลยียังสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในวงการต่างๆ ได้อย่างมากมาย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร การแพทย์ สาธารณสุข เครื่องสำอาง วงการอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สีทาบ้าน และสุขภัณฑ์ อีกด้วย
 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยียังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้บริโภค  ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของการทำความเข้าใจและให้ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการกับผู้บริโภคในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยี และยังมีข้อจำกัดในเรื่องของโฆษณาผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมักจะอวดอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีเกินความเป็นจริง จึงอยากให้ผู้บริโภคพิจารณาหาข้อมูลความรู้เรื่องนาโนเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีได้อย่างรู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ขายที่อาจใช้นาโนเทคโนโลยีมาเป็นช่องทางในการหลอกลวงหรือค้ากำไรเกินควรได้ ดร.ณัฐพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย
(ติดตามข่าวสาร  การจัดกิจกรรม คุยกัน..ฉันท์วิทย์  ของกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ที่  www.most.go.th/scitalk)

* กมลวรรณ  เอมสมบูรณ์  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  Call Center : 1313

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมสื่อการสอน ชื่อสื่อ I’m a box.




นวัตกรรมสื่อการสอน
เรื่อง Prepositions
ชื่อสื่อ I’m a box.
จัดทำโดย นายทวี   เนื่องอาชา  โรงเรียนพิมลวิทย์  เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร
งบประมาณจัดทำ  200 บาท
วิธีการใช้
                1. สอนคำศัพท์ in , on , under , behind , next to
                2. อธิบายความหมายของคำศัพท์
                3. ให้นักเรียนดูคำศัพท์ที่ติดกับสื่อ ออกเสียงและบอกความหมายให้นักเรียนฟัง
                4. สอนประโยค Where is the ............................... ? และบอกความหมายของประโยคที่จะนำไปถาม
                5. ประโยคคำถามจากข้อ 4 ให้ตอบด้วย in / on / under / behind / next to the ............
ตัวอย่างใช้สื่อประกอบการสอน
           - ครูวางดินสอไว้บนกล่องแล้วถามนักเรียนว่า Where is the pencil ?
                - ดินสออยู่บนกล่องให้ตอบว่า  The pencil is on the box.
                - ดินสออยู่ในกล่องให้ตอบว่า  The pencil is in the box.
                - ดินสออยู่ใต้กล่องให้ตอบว่า  The pencil is under the box.
                - ดินสออยู่ข้างหลังกล่องให้ตอบว่า  The pencil is behind the box.
                - ดินสออยู่ด้านข้างกล่องให้ตอบว่า  The pencil is next to the box.
ประเมินการใช้สื่อนวัตกรรมการสอน
                จากการนำสื่อการสอนชุด I’m a box. มาใช้สอนนักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Prepositions (in, on, under, behind, next to) ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความสนใจในสื่อการเรียน เพราะสื่อที่ใช้มีความสอดคล้องกับเรื่องและเนื้อหาที่กำลังเรียน มองเห็นภาพความรู้ มุมมองได้อย่างชัดเจน ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจง่ายขึ้น สามารถอ่านออกเสียง บอกความหมายของคำศัพท์ได้ เข้าใจประโยคการถาม/ตอบ บอกตำแหน่งสิ่งต่างๆที่ถามได้ง่ายขึ้น
แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบสื่อการสอน
เรื่อง Prepositions
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
หน่วย My school
รูปแบบ / กิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ Group Process
ตอน / เรื่อง Classroom : in /on /under / behind / next to
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
เวลาเรียน      2        ชั่วโมง
1. สาระสำคัญ                         การบอกตำแหน่งต่าง ๆ ของอุปกรณ์
2. ผลการเรียนที่คาดหวัง       ใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งต่างๆ รอบตัว
3. จุดประสงค์การเรียนรู้      
                                1. สามารถถามโดยใช้ Where is the ……….? ได้
                                2. สามารถบอกตำแหน่งสิ่งของได้
                                3. สามารถนำ in , on , under , behind , next to  มาบอกตำแหน่งต่างๆได้
4. เนื้อหา / สาระการเรียนรู้
       เนื้อหาหลัก
                                Presentation        
                : การบอกตำแหน่ง
                                Vocabulary          
                : where , in , on , under , behind , next to
                                Grammars           
                : Where is the ………………...? ( คำนาม )
: in  / on / under / behind / next to the … ( คำนาม )
5. กิจกรรม / กระบวนการเรียนรู้
                Presentation
                                - เกม Sit down / Stand up / Point to the ………………
                                - สอนคำศัพท์ใหม่ in / on / under / behind / next to / where
                                - ชูบัตรคำขึ้น แล้วถามว่า What’s this ? และถามถึงความหมายของคำศัพท์
                                - ชูบัตรคำขึ้นทีละแผ่นออกเสียงให้นักเรียนอ่านตาม
                                - อธิบายความหมายของคำศัพท์ที่ชูขึ้น
                                - สอนประโยค Where is the …………..? ให้นักเรียนอ่านตาม
                                - บอกความหมายของประโยค โดยเติมคำนามที่จะหาตำแหน่งสิ่งของนั้นๆ เช่น Where   is   the   book?
                                - ประโยคคำตอบบอกตำแหน่งโดยใช้
             in / on / under / behind / next to the ……………
  - ทุกคนอ่านออกเสียงตามครู
                                - ครูวางปากกาบนกล่องแล้วถามนักเรียนว่า Where  is  the  pen?
                                - อยู่บนกล่อง ใช้  on  the  box.
                                - อยู่ในกล่อง ใช้   in  the  box.
                                - อยู่ใต้กล่อง  ใช้   under  the  box.
                                - อยู่ด้านหลังใช้  behind  the box.
                                - อยู่ถัดไป ( อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือขวา )ใช้  next to the box.
                Practice
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม
- แสดงภาพประกอบ และถามแต่ละกลุ่มว่า Where is the …..?
                        ( เติมคำนามของที่มองเห็นตามภาพ )
Production
- ทำ Worksheet
- ช่วยกันสรุปเนื้อหาการใช้ in / on / under /behind / next to
6. กิจกรรมต่อเนื่อง
                การบอกตำแหน่งสามารถเชื่อมโยงกับทุกเนื้อหาที่บ่งบอกถึง Prepositions (คำบุพบท)
7. กระบวนการวัด และประเมินผล
                1. การสังเกต
                                - ความสนใจในการเรียน
                                - การตอบคำถาม
                                - การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
                2. การทำ Worksheet
8. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
                1. บัตรภาพ
                2. บัตรคำ และแถบประโยค
                3. ของจริง เช่น table , desk , box
9. เอกสารประกอบแผนการจัดการเรียนรู้
- Grammar Skill : 1
                - Step Out : 1
                - Get Set Go ! : 2
                - A to Z : 1-2
                - Worksheet
10. บันทึกหลังการสอนแผนการจัดการเรียนรู้
                 สรุปผลการเรียนรู้
                                จากการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถถาม/ตอบการใช้ประโยค Where is the pen ? The pen is  in/on/under/behind/next to the box. ได้ บอกตำแหน่งสิ่งต่างๆ ที่รอบตัวเองได้ อ่านออกเสียงและรู้ความหมายของคำศัพท์ใน Prepositions  และนักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัดใน Worksheet ได้ถูกต้อง
            ปัญหา
                                -
            แนวทางแก้ไข
                                -
                 ข้อเสนอแนะ
                                แผนการจัดการเรียนรู้นี้ และสื่อการสอนที่นำมาประกอบ ถ้าเพิ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้นตามความยากง่าย สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้
                                                                                   ลงชื่อ ……….....…………………
                                                                                             ( นายทวี     เนื่องอาชา )

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน (Tutorial) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)
ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด เลือกข้อถูกจากตัวเลือก
3. จำลองแบบ (Simulation)
นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้
4. เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5. การสาธิต (Demonstration) นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6. การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
7.  การไต่ถาม (Inquiry) ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด
8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก หรือเลือกบทเรียนได้
7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล
ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน
มาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน

ลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี มีดังนี้1.  สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน
2.  เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
3.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด
4.  มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
5.  คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
6.  สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน
7.  จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ
8.  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน
9.  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัดบางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม