มากกว่ารัก

slide



วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โปรแกรมคำนวณค่าไฟ ช่วยพ่อบ้านสบายกระเป๋า

โปรแกรมคำนวณค่าไฟ ช่วยพ่อบ้านสบายกระเป๋า

ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ช่วยกันพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้า รู้ผลภายใน 5 นาที สำหรับวางแผนประหยัดค่าไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง
 แต่ละเดือนต้องควักเงินในกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าไฟฟ้าโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลยว่า เครื่องไฟฟ้าตัวไหนสวาปามกระแสไฟฟ้ากันมากน้อยแค่ไหน ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงช่วยกันพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้ารู้ผลภายใน 5 นาที สามารถวางแผนประหยัดค่าไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง
 ผศ.ดร.นิตย์ เพ็ชรรักษ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงที่มาของโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าว่า เนื่องจากค่าไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า ถ้ายิ่งใช้มาก ค่าไฟฟ้ายิ่งสูงขึ้น
 ขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องกินไฟกี่วัตต์ และไม่ทราบสัดส่วนของค่าไฟที่เกิดจากอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทำให้ประชาชนที่พยายามลดการใช้ไฟฟ้าไม่ทราบว่ากิจกรรมที่ตนเองทำการประหยัดนั้นจะมีประสิทธิภาพในการลดค่าไฟได้จริงหรือไม่ 
 ประเด็นดังกล่าว ทำให้นายศรชัย บัวแก้ว และนายจาตุรงค์ ปุริสาร นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พัฒนา โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทผู้อยู่อาศัย” (Program for Electricity Bill Computation) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายพลังงาน ปี 2550 
 ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงรูปแบบการคิดค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกันก่อน นายศรชัยอธิบายว่า อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ 1.ค่าบริการ (บาท/เดือน) 2.ค่าไฟฟ้าฐาน ที่คิดจากพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) 3.ค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าเอฟที (บาท/หน่วย) 4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคิดจากค่าไฟฟ้าฐานรวมกับค่าเอฟที
 “คำศัพท์เฉพาะและความซับซ้อนต่างๆ ทำให้หลายคนไม่เคยคำนวณค่าไฟ รอดูอย่างเดียวว่า แต่ละเดือนบิลค่าไฟจะมา เราจึงพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าที่นำค่าบริการ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งเป็นตัวแปรในการคำนวณค่าไฟฟ้ามาเป็นสูตร โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องจำให้ยุ่งยาก เพียงแค่เปิดโปรแกรมผ่าน www.dpu.ac.th/eng/ee/cal/index.phpนายศรชัยกล่าว
 เมื่อเปิดหน้าจอไปยังโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องลงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตนใช้อยู่ ว่ามีอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณการใช้กี่ชั่วโมงต่อวัน และใช้กี่วันต่อเดือน ในเวลาไม่ถึง 5 นาที ระบบจะคำนวณ
ค่าไฟฟ้าที่ประมาณการจากการใช้งานจริง และมีข้อแนะนำการประหยัดไฟฟ้าแนบมาด้วย
 อย่างไรก็ตามโปรแกรมดังกล่าวยังมีข้อจำกัดตรงที่สามารถใช้คำนวณค่าไฟได้เฉพาะในครัวเรือนเท่านั้น ยังไม่สามารถคำนวณที่เป็นสถานประกอบการ หรือในภาคธุรกิจได้ โดยทีมนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กำลังศึกษาข้อมูลและพัฒนาเพื่อใช้คิดคำนวณได้ในภาคธุรกิจ
 “โปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าฟ้านี้ ต้องการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นและใช้อย่างประหยัด โดยจะสามารถวางแผนการใช้ไฟฟ้าในระยะยาวได้ผศ.ดร.นิตย์กล่าว ก่อนเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาจะเห็นว่าหน่วยงานรัฐรณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด และรู้จักคุณค่าของพลังงาน ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมืออย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น